เนื้อหาต่อเนื่องกับบล็อกที่ 2 ประโยคบอกเล่า ปฏิเสธและคำถาม ในส่วนที่พูดถึงกริยาแท้กับกริยาช่วยไว้ซึ่งเวลาที่เราเห็นประโยคภาษาอังกฤษ แล้วเห็นกริยามากกว่าหนึ่งตัว เช่น
She is reading books. มีกริยาอยู่ 2 ตัวตามที่ขีดเส้นใต้คือ is กับ reading
แล้วจะดูกริยาตัวไหนเพื่อให้แปลความหมายของประโยคได้ล่ะ
เพราะถ้าแปลกริยาทุกตัวที่มีอยู่ในประโยคข้างต้น จะแปลได้ว่า
"หล่อน (เขาผู้หญิง) เป็น/อยู่/คือ กำลังอ่านหนังสือ"
เป็นไงคะ?... แปลออกมาแล้วมันทะแม่งๆ แปลกๆ ใช่รึเปล่าเอ่ย... เพราะฉะนั้น การที่เราจะรู้ได้ว่ากริยาตัวไหนเป็นกริยาแท้ (Finite Verb) หรือเป็นกริยาที่เป็นฮีโร่มาช่วยให้รูปแบบประโยคแต่ละชนิดสมบูรณ์ ก็ต้องมาดูที่ความหมายของประโยคค่ะ ว่ากริยาตัวไหนที่ทำหน้าที่กระทำในประโยค และจากประโยคข้างต้นนี้ ตัวที่มีการกระทำคือ "reading" จึงสามารถบอกได้เลยว่า กริยาแท้ของประโยคคือ reading และกริยาช่วยคือ "is" เพราะ is ไม่มีความหมาย ไม่ได้แปลว่า เป็น อยู่ หรือแม้แต่จะแปลว่า คือ เพราะ is ตัวนี้มาทำหน้าที่ให้รูปแบบประโยคบอกเล่าของ "แม่พรีลูกคอนท์"(Present Continuous) สมบูรณ์เท่านั้น
ลองแปลประโยคนี้กันอีกครั้งนะคะ
She is reading books. หล่อน (เขาผู้หญิง) กำลังอ่านหนังสือ
มาถึงตรงนี้ คาดว่าแต่ละคนน่าจะพอเข้าใจกันแล้วนะคะว่ากริยาแท้คืออะไร...
ต่อไป มาถึงกริยาช่วย หรือที่เรียกว่า "Auxiliary Verb"กันค่ะ ว่ากริยาช่วยในโลกของภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง
ก็หลักๆเลยมี สามกลุ่ม บวกกับอีกหนึ่งกลุ่ม รวมเป็นสี่กลุ่ม
สาเหตุที่บิ้วแยกเป็นสามบวกหนึ่ง เพราะสามกลุ่มแรกจะแยกไปตาม Tense ให้เห็นแบบชัดเจน แบบนี้ค่ะ
กลุ่มแรกจะเป็นน้องดู (v. to do = do, does, did) ใช้ในตระกูลซิม (Simple) จะแยกเป็น แม่พรี (do, does) กับแม่พาสท์ (did) โดยน้องดูที่ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยนี้ เค้าจะมีความพิเศษนิดนึงคือ จะโผล่มาแค่เวลาประโยคเป็นปฏิเสธกับคำถามเท่านั้นค่ะ
มาดูตัวอย่างกันค่ะ
1. แม่พรีลูกซิม (Present Simple) = She reads a book. (บอกเล่าเลยไม่เห็นแม้แต่เงาของน้องดู)/ She does not read a book. (ปฏิเสธ)/ Does she read a book? (คำถาม)
2. แม่พาสต์ลูกซิม (Past Simple) = She read a book yesterday.(บอกเล่าไม่จำเป็นต้องมี)/ She did not read a book yesterday. (ปฏิเสธ)/ Did she read a book yesterday? (คำถาม)
ต่อมากลุ่มที่สองคือน้องบี (v. to be is = am, are, was, were) ใช้ในตระกูลคอนท์ ซึ่่งจะแยกเป็นแม่พรี(is, am, are) กับแม่พาสต์ (was, were) เหมือนกันกับตระกูลซิม
1. แม่พรีลูกคอนท์ (Present Continuous) = She is reading a book. (บอกเล่า)/ She is not reading a book.
(ปฏิเสธ)/ Is she reading a book? (คำถาม)
2. แม่พาสต์ลูกคอนท์ (Past Continuous) = She was reading a book. (บอกเล่า)/ She was not reading a book.
(ปฏิเสธ)/ Was she reading a book? (คำถาม)
กลุ่มสุดท้ายไม่ท้ายสุดคือน้องแฮฟ (v. to have = have, has, had)
ใช้ในตระกูลเพอ และเพอคอนท์ ของแม่พรี(have, has) กับแม่พาสต์ (had) อีกนั่นแหละค่า
1. แม่พรีลูกเพอ (Present Perfect) = She has read a book. (บอกเล่า)/ She has not read a book.(ปฏิเสธ)/ Has she read a book? (คำถาม)
2. แม่พรีลูกเพอคอนท์ (Present Perfect Continuous) = She has been reading a book. (บอกเล่า)/ She has not been reading a book.(ปฏิเสธ)/ Has she been reading a book? (คำถาม)
3. แม่พาสต์ลูกเพอ (Past Perfect) = She had read a book. (บอกเล่า)/ She had not read a book.(ปฏิเสธ)/ Had she read a book? (คำถาม)
4. แม่พาสต์ลูกเพอคอนท์ (Past Perfect Continuous) = She had been reading a book. (บอกเล่า)/ She had not been reading a book.(ปฏิเสธ)/ Had she been reading a book? (คำถาม)
ถ้าหากใครงงว่า อะไรซิม อะไรคอนท์ อะไรเพอ อะไรเพอคอนท์ แม่พรี แม่พาสต์ ไม่รู้เรื่องเลย
เนื้อหามีอยู่ในบล็อกแรกนะคะ สามารถคลิกเข้าไปอ่านที่นี่ 12 Tenses ได้เลยค่ะ
ส่วนกริยาช่วย
อีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มนี้จะมีชื่่อเรียกของเค้าเลยว่า "Modal Verb" (น้องโม) ถ้าจะให้บิ้วคิดว่า แล้วกริยากลุ่มนี้มาช่วยทำอะไรล่ะ
ทำไมถึงต้องแยกออกมาจากสามตัวข้างบน คิดไปคิดมา ก็ได้คำตอบของตัวเองว่า
มาช่วยเพื่อเพิ่มความหมายของประโยค และกริยาช่วยกลุ่มนี้มีความหมาย เพื่อบ่งบอกถึง ความสามารถ
ความเป็นไปได้ การแนะนำ การบังคับ สิ่งที่จะทำในอนาคต เช่น
แทนที่เราจะบอกว่า I swim. ฉันว่ายน้ำ
เราก็ไปเพิ่มความหมายให้ดูมีอะไรขึ้นมาอีกนิดนึงว่านิดนึงว่า I can swim. ฉันสามารถว่ายน้ำได้
ซึ่งกริยากลุ่มนี้ เราจะแยกเป็นกลุ่มๆของมันเองได้ตามนี้นะคะ
can could สามารถ
may might อาจจะ
must have to (has to, had to) ต้อง
will would shall จะ
should had better ought to ควรจะ
โอเคกันรึเปล่าเอ่ย??? .... พอจะมีความเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับกริยาแท้กับกริยาช่วยกันรึยังคะ
ก่อนจะจบบล็อกนี้ ขอสรุปสั้นๆ ให้อีกครั้งแบบนี้ค่ะ
1. กริยาแท้ คือกริยาที่มีความหมายในประโยค แสดงถึงกริยาอาการ การกระทำ
2. กริยาช่วยกลุ่มที่หนึ่ง คือกริยาช่วยที่ไม่มีความหมายในประโยค (น้องดู น้องบี น้องแฮฟ) มีหน้าที่แค่ทำให้ประโยคมีโครงสร้างที่สมบูรณ์
3. กริยาช่วยกลุ่มที่สอง คือกริยาช่วยที่มีความหมายในประโยค (น้องโม) โดยน้องโมมีหน้าที่เสริมความหมายของประโยคให้ดูมีอะไรมากขึ้น
ยังไงก็ลองทำความเข้าใจกันดูก่อนนะคะ ถ้าอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง หรือต้องการติชม เสนอแนะอะไร ก็สามารถทิ้งข้อความไว้ได้เลย หรือจะไปที่ Facebook Page ชื่อ EEK นี้ก็ได้ค่ะ ^-^
ขอให้มีความสุขในทุกๆวันนะค้าาาาา
No comments:
Post a Comment